“Refeeding syndrome” อดอาหารนาน เสี่ยงถึงชีวิต!
สร้างความดีใจให้คนไทยทั้งประเทศเมื่อมีข่าวว่าทีมกู้ภัยพบ 13 ชีวิตทีมหมูป่าที่ติดอยู่ในถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอนแล้ว โดยทุกคนปลอดภัยดี แต่มีอาการอ่อนเพลียและรู้สึกหิวเนื่องจากไม่ได้กินอาหารมานานเกือบ 10 วัน อย่างไรก็ตาม จากที่มีข่าวว่าจะให้โค้ชและเด็ก ๆ ได้กินอาหารเพื่อบรรเทาความหิวและเติมพลังงานให้ร่างกายนั้น ก็ได้มีเสียงเตือนจากแพทย์และนักวิชาการออกมาว่า อย่าเพิ่งรีบนำอาหารหนัก ๆ ไปให้ผู้ประสบเหตุกิน เพราะหากเกิดอาการ “Refeeling Syndrome” ขึ้นมา จะเป็นอันตรายถึงชีวิต เราลองไปทำความเข้าใจอาการ Refeeding syndrome กันดูว่าเป็นอย่างไร
Refeeding syndrome คืออะไร
Refeeding syndrome ป้องกันได้อย่างไร
เพื่อเป็นการป้องกันภาวะ Refeeding syndrome แพทย์จะต้องตรวจร่างกายผู้ที่ขาดอาหารมานานเพื่อประเมินสภาพร่างกายเสียก่อน จากนั้นจึงเริ่มให้อาหารตามลำดับขั้นตอนคือ
– เจาะเลือดตรวจระดับอิเล็กโทรไลต์ ระดับฟอสฟอรัส แมกนีเซียม และโพแทสเซียมในเลือด
– ให้กินวิตามินบี 1 (ไทอามีน) 200-300 มิลลิกรัมต่อวันทางปาก หรือกินวิตามินบีรวม 1-2 เม็ด วันละ 3 ครั้ง หรือให้วิตามินบีรวมทางหลอดเลือดดำ ร่วมกับวิตามินรวม/แร่ธาตุรวม วันละ 1 ครั้ง
– เริ่มให้สารอาหารทีละน้อย ไม่เกิน 10 กิโลแคลอรี/กิโลกรัม/วัน แล้วจึงค่อย ๆ เพิ่มปริมาณพลังงานและสารอาหารอย่างช้า ๆ จนถึงระดับเป้าหมายภายใน 4–7 วัน แต่หากคนไข้มีภาวะทุพโภชนาการ ให้เริ่มต้นให้สารอาหารไม่เกิน 5 กิโลแคลอรี/กิโลกรัม/วัน
– ระหว่างนี้แพทย์ต้องตรวจและประเมินสภาพร่างกายอย่างใกล้ชิด โดยให้สารน้ำชดเชยอย่างเพียงพอ ติดตามระดับฟอสฟอรัส แมกนีเซียม และโพแทสเซียมอย่างใกล้ชิด ให้อิเล็กโทรไลต์ชดเชยหากมีภาวะอิเล็กโทรไลต์ในเลือดต่ำ
– ติดตามอาการจนครบ 2 สัปดาห์
ขอบคุณข้อมูลจาก
http://bit.ly/2NCR7dp