เคล็ดไม่ลับ สำหรับคนที่อยากมีสุขภาพที่ดี

หลายๆ คนมักเข้าใจว่าการมีสุขภาพที่ดี คือ การไม่อ้วน หรือมีน้ำหนักที่อยู่ในเกณฑ์ มาตรฐานเท่านั้น แต่อันที่จริงแล้วการมี สุขภาพที่ดีหมายรวมถึงการที่เราดูแลตัวเอง แบบองค์รวม ไม่ว่าจะด้านการรับประทาน อาหาร การออกกำลังกาย การพักผ่อน รวมถึงการลดหรือเลิกสิ่งที่บั่นทอนสุขภาพ เพราะการที่เรามีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้อง จึงเป็นสาเหตุของโรคและ ความเจ็บป่วยต่างๆ โดยเฉพาะโรคฮอตฮิตที่เรียกว่า โรควิถีชีวิต ที่สำคัญ 5 โรค ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคมะเร็ง และโรคหลอดเลือดสมอง

ตัวอย่างพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้อง ที่ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพและโรคต่างๆ เหล่านี้

พฤติกรรมการบริโภคอาหาร

– บริโภคหวาน มัน เค็มมากไป

– บริโภคผักและผลไม้น้อย

– บริโภคอาหารไม่สะอาด

Shot of an attractive young woman working out at the gymhttp://195.154.178.81/DATA/i_collage/pi/shoots/783431.jpg

พฤติกรรมการออกกำลังกาย

– ออกกำลังกายน้อย

พฤติกรรมความเครียด

พฤติกรรมสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์

พฤติกรรม การล้างมือ

– หลังขับถ่าย

ซึ่งความจริงแล้วสิ่งเหล่านี้หลายคนรู้ดีว่า การกระทำใดก่อเกิดปัญหาสุขภาพใดและควร ปรับเปลี่ยนการดูแลสุขภาพอย่างไรแต่ก็ยังไม่สามารถเปลี่ยนพฤติกรรมได้เสียทีนั่นเป็น เพราะว่า…ความเคยชินหรือรูปแบบพฤติกรรมอัตโนมัต

ความเคยชิน… ทำให้การเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องยาก การทำสิ่งต่างๆ ด้วยความเคยชินแบบไม่ต้องคิด อาจทำให้ ชีวิตเราง่ายขึ้น แต่ในทางกลับกัน การทำอย่างเป็นไปโดยอัตโนมัติ ก็ทำให้เราติดอยู่กับความเคยชิน กับรูปแบบเดิมๆและไม่สามารถ เปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งใหม่ที่ดีกว่า วงจรความเคยชิน เริ่มต้นจากการมีสิ่งกระตุ้น ส่งสัญญาณให้ สมองทำงานอย่างเป็นอัตโนมัติส่งผลให้เราทำพฤติกรรมที่เคยทำ ด้วยความเคยชิน อาทิหยิบบุหรี่ขึ้นสูบ สั่งน้ำอัดลมดื่ม เป็นต้น และในการทำตามรูปแบบพฤติกรรมที่เคยชินนั้น เรามักจะได้ “อะไรบางอย่าง” เป็นรางวัลที่อาจเป็นสิ่งใดก็ได้เช่น ความสนุก อร่อย เป็นต้น และเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในทันทีรางวัลที่ได้รับเป็นส่วน สำคัญที่ทำให้เรายังคงเวียนวนอยู่ในวงจรนี้ต่อไป

“สร้างใหม่ง่ายกว่าลบของเก่าทิ้ง”  เมื่อคนเราทำอะไรซ้ำๆ สมองจะเพิ่มขนาดเนื้อเยื่อที่หุ้มเส้นใยประสาท ทำให้ การส่งกระแสประสาทในเรื่องนั้นๆ เป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ทำให้ เราทำสิ่งนั้นได้ง่ายและคล่องขึ้น แต่ที่เราทำอะไรซ้ำๆ เนื้อเยื่อหุ้มเส้นใยประสาท จะเพิ่มปริมาณมากขึ้น ซึ่งเนื้อเยื่อเหล่านี้จะไม่สามารถทำลายทิ้ง การพยายามลบ สิ่งเก่าๆ ที่ได้เรียนรู้แล้วทิ้งจึงทำได้ยาก ดังนั้นการที่เราจะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจึงจำเป็นต้องสร้างสิ่งใหม่ หรือสร้าง รูปแบบพฤติกรรมใหม่ขึ้นมา เพื่อให้เนื้อเยื่อหุ้มเส้นใยประสาทในวงจรพฤติกรรม ใหม่เพิ่มขึ้น

ถึงเวลาลงมือเปลี่ยนแปลงแล้ว การเปลี่ยนแปลงตัวเองให้ได้ผลจำเป็นต้องอาศัยปัจจัยเสริม ซึ่งอาจแบ่งเป็น 4 ขั้นตอน ง่ายๆ ดังนี้

1. ทบทวนตัวเอง ลองทบทวนพฤติกรรมเคยชินหรืออัตโนมัติที่เราทำอยู่เป็นประจำ แล้วทำความเข้าใจถึงรูปแบบ สิ่งกระตุ้น รางวัลที่ได้เพื่อพิจารณาว่าเราควร ปรับปรุงในส่วนใดให้ดีขึ้น หรือเราเคยได้ลองพยายามเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม นั้นๆมาก่อนหรือเปล่ามีส่วนใดที่ทำแล้วได้ผลส่วนใดที่ทำแล้วไม่ได้ผลเพื่อ นำมาใช้ประโยชน์ในขั้นตอนต่อไป

2. สร้างแรงจูงใจ เราสามารถแบ่งแรงจูงใจได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ แรงจูงใจทางบวก ที่เกิดจากความอยาก เช่น อยากหุ่นดีเป็นต้น แรงจูงใจทางลบ ที่เกิดจากความกลัว เช่น กลัวแก่ กลัวทรมาน กลัวพิการ เป็นต้น

เราสามารถสร้างแรงจูงใจได้ด้วยวิธีตั้งคำถามเพื่อให้ตัวเราได้ทบทวนและ สัมผัสถึงความรู้สึกอยากและความรู้สึกกลัวที่อยู่ภายในใจให้มีพลังเพียงพอ อาทิ

– สิ่งที่เป็นอยู่มีปัญหาอย่างไร เช่น ความอ้วนและความดันโลหิตสูงเป็น ปัญหาและกระทบกับชีวิตของคุณอย่างไร

– หากเราไม่เปลี่ยนพฤติกรรมนั้นจะมีผลอย่างไร

– ถ้าเปลี่ยนพฤติกรรมใหม่แล้ว เราจะได้อะไร ชีวิตจะดีขึ้นอย่างไร

3. จัดทำแผนการเปลี่ยนแปลง การจะเปลี่ยนแปลงตัวเองให้ได้เราจำเป็นต้องมีแนวทางที่เป็นรูปธรรม ไม่เป็นไปตามความเคยชิน

 แผนการเปลี่ยนแปลงที่ดีต้องมีอะไรบ้าง

– มีเป้าหมายที่ชัดเจน เป็นไปได้อยู่ในวิสัยที่ทำได้ด้วยตนเอง

– มีสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเปลี่ยนแปลง เช่น เลิกซื้อของขบเคี้ยว มาไว้ในบ้าน ติดภาพหรือข้อความเตือนใจ หลีกเลี่ยงการรับประทาน อาหาร แบบบุฟเฟต์ฯลฯ

– มีกัลยาณมิตรที่คอยเตือนและให้กำลังใจเรา เพราะเราควรมีแผนขอ ความช่วยเหลือจากคนรอบข้าง และควรหลีกเลี่ยงคนที่จะดึงเราไว้ ในวงจรเดิมๆ เช่น ออกห่างจากเพื่อนที่ชวนดื่มกินเป็นประจำ พูดคุยกับคนที่มี วิธีมองโลกที่ดีคนที่คิดอะไรเป็นระบบ คนที่เข้าใจเราและเตือนเราได้ ฯลฯ

– มีความคิดดีๆ และคำพูดดีๆ ที่เอาไว้คอยบอกตัวเอง เช่น เมื่ออยู่ใน งานปาร์ตี้ควรมีคำพูดเตือนตัวเองไม่ให้ทานอาหารมากเกิน เช่น “จะอ้วน ไปถึงไหน” เมื่อรู้สึกขี้เกียจออกกำลังกาย พูดกับตัวเองว่า “เราต้องอยู่ ถึงลูกรับปริญญาให้ได้” ฯลฯ

สิ่งที่ต้องระวัง! ความคิดและคำพูดที่จะ “อนุญาต” ให้เราทำสิ่งที่ไม่ดีต่อสุขภาพ เช่น “นิดหน่อยน่า ไม่เป็นไร” มีความรู้และทักษะที่จำเป็นต่อการเปลี่ยนแปลงเช่นรู้วิธีคำนวณพลังงานในอาหารแต่ละประเภทเป็นต้น มีรางวัลให้กับตัวเองในทุกก้าวเล็กๆของความสำเร็จ เช่น ใส่ชุดสวยเมื่อหุ่นดีขึ้น ไปเที่ยวเมื่อเก็บ เงินที่ไม่ต้องเสียไปกับค่าบุหรี่และค่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้มากพอ เป็นต้น

4.แบ่งปันประสบการณ์ การแบ่งปันประสบการณ์เป็นอีกขั้นตอนหนึ่งที่มีความสำคัญ เพราะการบอก เล่าเรื่องราวของตัวเองให้คนอื่นฟังจะเป็นการให้กำลังใจกันและกัน และช่วยเพิ่มโอกาสในความสำเร็จมากยิ่งขึ้น