3 ความลับของความสำเร็จนักวิ่งมาราธอนญี่ปุ่น
การวิ่งมาราธอนคือว่า เป็นกีฬาที่ไม่ได้ใช้แค่ร่างกาย แต่ต้องใช้จิตใจและหัวใจที่แข็งแรงอีกด้วย เคยสังเกตุไหมครับ ว่าการแข่งขันมาราธอนหลาย 10 ปีที่ผ่านมา เราเห็นญี่ปุ่นเป็นชาติเดียวในเอเชียที่สามารถสู้กับนักวิ่งจากทวีปแอฟริกาหรือยุโรปได้ เขามีวิธีการคิดและฝึกฝนอย่างไร
การวิ่งเป็นวัฒนธรรมที่แพร่หลายในสังคมญี่ปุ่นมานับร้อยปี หากมองย้อนหลังไปในสมัยเอโดะ ชาวญี่ปุ่นเลือกใช้การวิ่งเพื่อส่งสารสำคัญ ระยะทางและวินัยทำให้มาราธอนกลายเป็นอีกสิ่งที่คนญี่ปุ่นรักมากที่สุด
รายการมาราธอน “Citizen Runner” Yuki Kawauchi นักวิ่งออฟฟิศกลายเป็นวีรบุรุษของชาติเหมือนกับ LeBron James และ Peyton Manning ทำให้เรตติ้งผู้ชมรายการวิ่งในโทรทัศน์ตีคู่ขึ้นมากับจำนวนผู้ชมรายการ Super Bowl ในสหรัฐอเมริกา ในญี่ปุ่นพระสงฆ์จะต้องวิ่งธุงดงค์ “Marathon Monks” ด้วยระยะทางมากที่สุด 89.5 กิโลเมตรต่อวัน ระยะเวลา 100 วัน และเดินอีก 30 กิโลเมตรต่อวันระยะเวลาอีก 100วัน ในมุมมองของนักวิ่งมาราธอนอาชีพ ตลอดระยะเวลา 50 ปีที่ผ่านมา นอกจากชาวเคนย่า และชาวเอธิโอเปีย แล้วญี่ปุ่นกลายเป็นอีกชาติที่จะเป็นคู่แข่งขัน กระทั่งในปี 2001 Naoko Takahashi กลายเป็นผู้หญิงชาวญี่ปุ่นคนแรกที่ทำลายสถิติโลก รายการวิ่งมาราธอน ด้วยเวลา 2 ชั่วโมง 19 นาที 46 วินาที ในรายการเบอร์ลินมาราธอน (ปัจจุบันสถิติโลกเป็นของ Paula Radcliffe 2:15:25 แต่ยังเป็นเจ้าของสถิติในรายการเบอร์ลินมาราธอนอยู่) นันเป็นสิ่งที่ประเทศที่มีขนาดพอๆ กับรัฐมอนแทนา มีสิ่งที่น่าเรียนรู้ความลับของความสำเร็จของนักวิ่งมาราธอนญี่ปุ่น
1. ความแข็งแกร่งของสภาพร่างกาย (AEROBIC BASE)
โนบูยะ ฮาชิซูเมะ โค้ชของมูลนิธิ Lydiard ได้ทำหน้าที่โค้ชให้กับทีมวิ่งบริษัท ฮิตาชิ ในปี 1988 และ 1991 กล่าวไว้ว่า ระยะทางคือการสร้างรากฐานของความมั่นคงขา ถึงแม้ว่าการฝึกขั้นพื้นฐานจะเป็นสิ่งที่น่าเบื่อแต่มันนำไปสู่ความสำเร็จ
มีนักวิ่งเข้าสู่ระบบการวิ่ง 200 ไมล์(320 กิโล)ต่อสัปดาห์ เพื่อที่จะลงรายการวิ่งเพียง 5 กิโล เพื่อให้ได้เวลาและอันดับดีที่สุด, ฮาชิซูเมะยังบอกอีกว่าหนึ่งในอดีตเพื่อนร่วมงานของเขาตำนานนักวิ่งมาราธอน โทชิฮิโกะ เซโกะ ภายใต้การคุมทีมของโค้ช คิโยชิ นากามูระถูกฝึกให้วิ่งในตอนเช้า 60 นาที ตอนกลางวันอีก 90 นาที และอีก 60 นาทีในตอนเย็น เป็นเวลา 4 สัปดาห์ ในช่วงของการพัฒนาพื้นฐานสภาพร่างกาย ฮาชิซูเมะเรียกการฝึกซ้อมแบบนี้ว่า “ความฉิบหายของหัวเข่า” แต่มันเป็นสิ่งที่ทำให้รู้ว่าคนญี่ปุ่นเข้าใจถึงการฝึกความแข็งแกร่งของร่างกายมาหลายช่วงทศวรรษ
2. ไม่ใช่แค่รักหรือแค่สนุก แต่ต้องพยายามอย่างหนักด้วย
ไม่มีการแบ่งแยกสำหรับนักวิ่งมาราธอน ทั้งสถานที่ภูมิภาค, วัฒนธรรม, ความบกพร่องทางพันธุกรรม เพื่อไม่ให้เกิดการหักลบหรือรู้สึกด้อยกว่าในความคิดของนักวิ่งมาราธอนมืออาชีพ
ฮาชิซูเมะกล่าวไว้ว่าโค้ชนากามูระ คือหลักฐานที่ชัดเจน “พรสรรค์ที่ได้มามีขีดจำกัด แต่การฝึกซ้อมไม่มีขีดจำกัด” ฮาชิซูเมะยังแสดงให้เห็นอีกว่านักวิ่งญี่ปุ่นมีความมุ่งมั่นและยึดมั่นในความฝันของพวกเขา ในขณะที่คนหนุ่มสาวชาวตะวันตกยังคงมองหาข้อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์เข้ามาช่วยหรือความคุ้มค่าของความพยายามนั้น ส่วนคนญี่ปุ่นนั้นบางครั้งค่อนข้างหัวโบราณแต่เต็มไปด้วยความโรแมนติก มุ่งมั่นฝึกซ้อมจนสามารถเอาชนะพรสวรรค์ที่ธรรมชาติให้มา
3. ระเบียบวินัยและความพากเพียร
การวิ่ง 26.2 ไมล์ (42.2 กิโล) ได้นั้นจะต้องมีวินัยทุกด้านในการดำเนินชีวิตของคุณ คนญี่ปุ่นเรียกสิ่งนี้ว่าความเพียร การทำหน้าที่ของตนอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยกับความทุกข์ทรมานโดยไม่มีการบ่น และพวกเขาก็ทำมันได้อย่างยอดเยี่ยม การวิ่งมาราธอนเป็นเหมือนเวทีที่จะแสดงถึงความงดงามว่าพวกเขาผ่านการฝึกซ้อมมาอย่างหนักหน่วงเพียงใด
ฮาชิซูเมะกล่าวอีกว่า “คุณจะต้องใช้เวลาในการทำมันช้าๆ ค่อยๆ เพิ่มขึ้นและทำอย่างต่อเนื่อง สุดท้ายผลลัพธ์ก็จะตามมาเอง”
แปลบทความจาก http://running.competitor.com/