อาหารทางเลือก ‘Probiotics’ ทานเเล้วดีท็อกซ์ลำไส้ ขับถ่ายคล่อง!
โพรไบโอติกส์มักถูกเรียกว่า “แบคทีเรียดี” เพราะมันช่วยให้ลำไส้แข็งแรง
โพรไบโอติกส์ (Probiotics) เป็นแบคทีเรียกับยีสต์ที่มีชีวิตที่พบได้ตามธรรมชาติในลำไส้หรือจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในลำไส้ มักเป็นที่รู้จักกันว่าเป็น “แบคทีเรียดี” เพราะมีส่วนช่วยให้ลำไส้แข็งแรง โพรไบโอติกส์ที่ใช้กันมากในประเทศสหรัฐอเมริกา คือ แล็คโตบาซิลลัส (Lactobacillus) และบิฟิโดแบคทีเรีย (Bifidobacteria) ซึ่งสามารถบริโภคได้ในรูปของอาหารเสริม อาหาร ครีม ยาเหน็บ และรูปแบบอื่นๆ
นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าจุลินทรีย์เหล่านี้ทำงานในลำไส้โดยการ
- ลดจำนวนแบคทีเรีย “ไม่ดี”
- เสริมสร้างแบคทีเรีย “ดี”
- ฟื้นฟูสมดุลแบคทีเรียที่มีประโยชน์
- กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
อย่างไรก็ตาม องค์การอาหาราและยา (FDA) ไม่ได้อนุมัติสรรพคุณทางด้านสุขภาพของโพรไบโอติกส์
Elie Metchnikoff นักวิทยาศาสตร์ชาวรัสเซียได้กล่าวถึงโพรไบโอติกส์ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1990 แม้งานวิจัยทั้งหลายจะพบว่า คุณประโยชน์ของยาบางชนิดมีส่วนของโพรไบโอติกส์ แต่นักวิจัยหลายคนเชื่อว่าควรมีการตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับโพรไบโอติกส์มากกว่านี้ มักมีการอ้างว่าโพรไบโอติกส์ช่วยรักษาโรคได้มากมายหลายอย่าง โดยบางคนก็ใช้โพรไบโอติกส์เพื่อ…
- รักษาปัญหาของระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ โรคอุจจาระร่วง อาการลำไส้แปรปรวน (IBS) โรคลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผลเรื้อรัง (UC) และโรคโครนห์ (Crohn’s disease)
- ป้องกันฟันผุหรือรักษาสุขภาพช่องปากอื่นๆ
- ปรับการทำงานของสมอง
- ป้องกันโรคภูมิแพ้
- ป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรีย
- ลดความดันโลหิต
- ป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะหรือโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ (UTI)
- ป้องกันการติดเชื้อยีสต์
- บรรเทาอาการของโรคสะเก็ดเงินหรือโรคผิวหนังอักเสบ
- ช่วยในกลุ่มอาการเพลียเรื้อรัง
โพรไบโอติกส์กับการลดน้ำหนัก
บางงานวิจัยแนะนำว่า โพรไบโอติกส์อาจช่วยเรื่องการลดน้ำหนัก แต่ยังจำเป็นต้องมีการศึกษาอื่นๆ อีกที่มารับรองถึงบทบาทของโพรไบโอติกส์ในการลดน้ำหนักด้วย งานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ถูกตีพิมพ์ในวารสาร British Journal of Nutrition เมื่อปี ค.ศ. 2004 พบว่า ชายและหญิงที่ทานอาหารเสริมโพรไบโอติกส์ร่วมกับการกินตามแพลนอาหารเพื่อลดน้ำหนักโดยเฉพาะ มีน้ำหนักที่ลดลงมากกว่าคนที่กินอาหารเพื่อการไดเอทเพียงอย่างเดียว งานวิจัยอื่นๆ ก็แสดงข้อมูลเกี่ยวกับคนอ้วนซึ่งมีแบคทีเรียในลำไส้ต่างจากคนที่มีน้ำหนักปกติ
อาหารที่มีโพรไบโอติกส์
อาหารทั่วไปที่มีแบคทีเรียที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ได้แก่
- โยเกิร์ต
- น้ำผลไม้
- Aged cheese (ชีสจากการบ่ม)
- กะหล่ำปลีดอง
- มิโซะ (Miso-เต้าเจี้ยวญี่ปุ่น)
- กิมจิ (Kimchi)
- เครื่องดื่มจากถั่วเหลือง
ผลข้างเคียงของโพรไบโอติกส์
งานวิจัยหลายชิ้นได้แสดงให้เห็นว่าโพรไบโอติกส์ก็มีผลข้างเคียงเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ข้อมูลที่มั่นใจได้นั้นยังมีจำกัด คุณจึงควรสอบถามจากแพทย์ก่อนว่าร่างกายของคุณมีภาวะใดๆ หรือไม่ก่อนที่จะใช้โพรไบโอติกส์ คุณอาจมีแก้สอ่อนๆ หรือมีปัญหากระเพาะอาหารอื่นๆ ขณะทานโพรไบโอติกส์
REF http://bit.ly/2FACQyt