วิ่ง 30 นาทีต่อวัน ร่างกายได้อะไรบ้าง ?

วิ่ง 30 นาทีต่อวัน ร่างกายได้อะไรบ้าง ?

 

การวิ่งเป็นการออกกำลังกายที่ง่ายที่สุด และนิยมมากที่สุดประเภทหนึ่ง การวิ่งเพียงแค่ 30 นาที ก็สามารถทำให้ดูดีได้อย่างไม่น่าเชื่อ! มาดูกันว่า ใน 30 นาทีนั้นเกิดอะไรขึ้นกับร่างกายของเราบ้าง

 

ช่วงที่ 1 : ช่วงวินาทีแรก ๆ กล้ามเนื้อจะเริ่มผลิตสาร ATP ซึ่งเป็นสารให้พลังงานสูงแก่เซลล์
ช่วงที่ 2 : ในช่วง 90 วินาที ร่างกายจะย่อยสลายไกลโคเจน หรือกลูโคสอีกรูปแบบหนึ่งที่สะสมไว้ตามกล้ามเนื้อ และยังดึงกลูโคสจากเม็ดเลือดมาใช้ (การออกกำลังกายจึงเป็นอีกวิธีที่ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด)
ช่วงที่ 3 : 2-3 นาทีถัดมา หัวใจจะเต้นเร็วขึ้น ร่างกายจะเริ่มเผาผลาญแคลอรีและไขมันส่วนเกินที่สะสมเอาไว้
ช่วงที่ 4 : 10 นาที คุณจะรู้สึกสดชื่นขึ้น ถ้าร่างกายยังมีพลังงานเพียงพอ แต่หากร่างกายไม่สามารถผลิตพลังงานได้ทันคุณจะรู้สึกเหนื่อยล้า
ช่วงที่ 5 : หลัง 30 นาที ให้วิ่งช้าลงจนกลายเป็นเดิน ให้การใช้พลังงานน้อยลงจนอัตราการหายใจกลับสู่ปกติ สมองจะหลั่งฮอร์โมนโดพามีน ซึ่งช่วยทำให้เรารู้สึกเบิกบาน

 

ผลของการศึกษาเรื่องออกกำลังกายและการลดน้ำหนัก

 

  • การเดิน 30 นาทีต่อวัน หรือ 12 ไมล์ต่อสัปดาห์ ที่ระดับ 40-45% ของอัตราการเต้นของหัวใจที่สูงที่สุดจะลดน้ำหนักตัวได้ 1% ลดรอบเอวได้ 1.6% ลดไขมันในร่างกายได้ 2% และเพิ่มกล้ามเนื้อได้ 0.7%
  • การวิ่งเหยาะๆ ที่ระดับ 65-80% ของอัตราการเต้นของหัวใจที่สูงที่สุดเป็นเวลา 12 ไมล์ต่อสัปดาห์จะลดน้ำหนักตัวได้ 1% ลดรอบเอวได้ 1.4% ลดไขมันในร่างกายได้ 2.6% และเพิ่มกล้ามเนื้อได้ 1.4
  • การวิ่งเหยาะๆ ที่ระดับ 65-80% ของอัตราการเต้นของหัวใจที่สูงที่สุดเป็นเวลา 20 ไมล์ต่อสัปดาห์จะลดน้ำหนักตัวได้ 3.5% ลดรอบเอวได้ 3.4% ลดไขมันในร่างกายได้ 4.9% และเพิ่มกล้ามเนื้อได้ 1.4%
  • ในกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้ออกกำลังกาย น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น 1.1% รอบเอวเพิ่มขึ้น 0.8% และไขมันในร่างกายเพิ่มขึ้น 0.5%

 

นอกจากการออกกำลังกายจะสามารถควบคุมน้ำหนักได้แล้ว การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ก็มีส่วนสำคัญที่จะช่วยให้คุณสามารถควบคุมน้ำหนักได้ โดยปกติร่างกายผู้หญิงต้องการแคลอรี่เฉลี่ยต่อวันไม่เกิน 2,000 กิโลแคลอรี

แต่หากร่างกายได้รับปริมาณอาหารเกินกว่าที่ต้องการและไม่ได้รับการเผาผลาญ น้ำหนักตัวจะเพิ่มขึ้นทีละน้อย ซึ่งเมื่อดัชนีมวลกายสูงเกินกว่ามาตรฐาน เราก็จะมีภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน หรือโรคหัวใจขาดเลือด ได้ ดังนั้นควรรักษาระดับน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกตินะคะ

 

ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก https://bit.ly/2Y9ERZF