วิ่งมากไป ทำให้เข้าเสื่อมจริงเหรอ?

วิ่งมากไป ทำให้เข้าเสื่อมจริงเหรอ?

 

อาการ “ปวดเข่า” เป็นอาการบาดเจ็บที่พบบ่อยที่สุดในหมู่นักวิ่ง ซึ่งอาการที่พบบ่อยที่สุดก็คือ “ผิวใต้สะบ้าอักเสบ” (Patellofemoral Pain Syndrome) หรือ Runner’s Knee เวลาไปปรึกษาแพทย์ ก็มักจะได้รับคำแนะนำให้หยุดวิ่ง เดี๋ยวเข่าเสื่อม! ซึ่งอันที่จริงแล้วการวิ่งไม่ได้สัมพันธ์กับการเกิดเข่าเสื่อม

 

วิ่งแล้วเข่าเสื่อม เกี่ยวกับ “น้ำหนักตัว” หรือเปล่า

 

การวิ่งสัมพันธ์กับน้ำหนักตัวมากกว่า สาเหตุหลักที่พบมากที่สุดของการปวดเข่าจากการวิ่ง คือ การก้าวยาวเกินไป หรือ Overstride

Overstride คือ การวิ่งลงส้นในขณะที่เข่าตึง ซึ่งจะทำให้เกิดแรงกระแทกขึ้นมาถึงเข่าได้มาก ทำให้กล้ามเนื้อช่วยรับแรงได้น้อย เปรียบเสมือนการตอกเสาเข็มนั่นเอง ดังนั้นถ้าเราอยากวิ่งต่อไป ก็ต้องหลีกเลี่ยงไม่ให้ก้าวยาวเกินไป

นอกจากนี้ในปี 2013 ที่ผ่านมา มีงานวิจัยอีกงานที่เพิ่งตีพิมพ์ออกมาโดย Paul Williams ได้ตีพิมพ์งานวิจัย ที่ศึกษากลุ่ม นักวิ่ง 74,752 คน เทียบกับคนที่ออกกำลังกายด้วยการเดิน 14,625 คน พบว่าในคน ที่วิ่งมากกว่าประมาณ 2 กิโลเมตร ต่อวัน จะมีอัตราการเกิดข้อเข่าเสื่อม รวมถึงโอกาสที่จะต้องเปลี่ยนสะโพก “ลดลง!” อีกทั้งจำนวนผู้ที่มีปัญหาจากกลุ่มนักวิ่งก็ยังน้อยกว่ากลุ่มที่ออกกำลังกาย ด้วยการเดินอีกด้วยครับ โดยผู้วิจัยพบว่าสาเหตุที่สัมพันธ์กับการเกิดข้อเข่าเสื่อมก็คือ การที่มีน้ำหนักตัวมาก ซึ่งในกลุ่มนักวิ่งส่วนใหญ่จะมีสัดส่วนน้ำหนักตัวที่น้อยกว่า จึงไม่ค่อยพบปัญหานี้ ส่วนนักวิ่งที่มีการออกกำลังกายอย่างอื่นร่วมด้วย พบว่ามีอัตราการเกิดข้อเข่าเสื่อมสูงขึ้น

 

ปัจจุบันนี้เราน่าจะสามารถสรุปเรื่องนี้ได้แล้วครับว่า “การวิ่งไม่ได้ทำให้ข้อเข่าเสื่อม” แถมยังช่วยป้องกันได้ด้วยซ้ำ ในเมื่อมีงานวิจัยใหญ่ขนาดนี้มารองรับแล้ว ต่อไปเวลามีคนบอกว่า “วิ่งมากๆ ระวังข้อเข่าเสื่อมนะ” นักวิ่งทุกท่านก็ไม่ต้องกังวลแล้วล่ะ

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก โรงพยาบาลสมิติเวช