โชคก็ไม่ช่วย ถ้าไม่ออกกำลังกาย ! อัปเดตวิธี “ออกกำลังกาย” ให้ลดไขมันได้มากขึ้น

โชคก็ไม่ช่วย ถ้าไม่ออกกำลังกาย ! อัปเดตวิธี “ออกกำลังกาย” ให้ลดไขมันได้มากขึ้น

 

กรมส่งเสริมสุขภาพรัฐบาลกลางสหรัฐ ออกแนวทางในการออกกำลังกายฉบับใหม่ให้ทุกคนได้ลองทำตามกัน มีประสิทธิภาพต่อร่างกายมากขึ้นด้วย จะเหมือน หรือแตกต่างไปจากที่เคยทำกันมาอย่างไร ลองมาเช็กกัน

 


แนวทางการ “ออกกำลังกาย” ที่จะทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง-ลดไขมันได้มากขึ้น

 

 

• ขยับให้มากขึ้น นั่งให้น้อยลง เลือกท่าทางในการออกกำลังกายที่เน้นการขยับร่างกายมากกว่าการอยู่นิ่งๆ การออกกำลังกายโดยเน้นการขยับร่างกายจะช่วยให้คุณย่นระยะเวลาในการออกกำลังกายเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการได้ นอกจากนี้การนั่งทำงานอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ๆ ก็ไม่ใช่เรื่องดีต่อร่างกาย ควรลุกขึ้นเดินยืดเส้นยืดสายทุกๆ 1 ชั่วโมง
• การขยับร่างกาย หรือมีกิจกรรมในการใช้ร่างกายอยู่ตลอดเวลา ให้ประโยชน์ต่อร่างกายมากกว่าการนั่งหรือนอนนิ่งๆ ทั้งวัน แล้วไปออกกำลังกายคราวเดียว 10 นาทีรวด
• ออกกำลังกายหนักสลับเบา และเลือกออกกำลังหัวใจ (คาร์ดิโอ) และกล้ามเนื้อ สลับกันไปในแต่ละวัน
คนหนุ่มสาวย่อมได้รับประโยชน์จากการออกกำลังกายแตกต่างจากผู้สูงอายุ โดยเด็กๆ วัยประถมจะทำให้โกรทฮอร์โมนทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยให้กระดูก และกล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น รวมถึงสุขภาพของหลอดเลือดหัวใจก็ดีขึ้นด้วย สำหรับผู้ใหญ่ที่ออกกำลังกายจะทำให้ร่างกายสมดุล ลดความเสี่ยงในการบาดเจ็บ ทรงตัวได้ดี และทำกิจกรรมต่างๆ ได้ด้วยตัวคนเดียวได้ดีขึ้น

 


เราควรออกกำลังกายมากน้อยแค่ไหน?

 

 

 

จริงๆ แล้วความบ่อย หรือความหนักของการออกกำลังกายของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับอายุ เพศ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ โรคประจำตัว และอื่นๆ แต่โดยทั่วไปแล้วหากคุณอยู่ในวัย 18-40 ปี ที่มีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ คุณควรออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาทีติดต่อกัน

 

  • เด็กวัยก่อนเข้าเรียน หรือ 3-5 ปี ควรเล่นกีฬา และทำกิจกรรมต่างๆ ที่มีช่วงเล่น และช่วงพักสลับกันไปติดต่อกันไม่เกินวันละ 3 ชั่วโมง

 

  • วัยเด็กถึงวัยรุ่น อายุ 6-17 ปี ควรออกกำลังกายวันละ 1 ชั่วโมง อย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์ โดยเน้นการออกกำลังกายที่เน้นใหกระดูก และกล้ามเนื้อแข็งแรง

 

  • ผู้ใหญ่ ควรออกกำลังกายอย่างน้อย 1.30-3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ สำหรับการออกกำลังกายแนวแอโรบิคเบาๆ อีก 1.15-1.30 ชั่วโมง สำหรับการออกกำลังกายแบบแอโรบิคหนักๆ และออกกำลังกายเสริมสร้างกล้ามเนื้ออีก 2 วันต่อสัปดาห์

 

  • หญิงตั้งครรภ์ สามารถออกกำลังกายแบบแอโรบิคแบบเบาๆ ไปถึงระดับกลางได้ 1.30 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

 

  • หากเป็นการออกกำลังกายอย่างเข้มข้นตลอดทุกนาที ไม่ควรออกกำลังกายติดต่อกันเกิน 1.30 ชม. เพราะอาจทำให้ร่างกายอ่อนล้ามากเกินไปจนเป็นอันตรายกับกล้ามเนื้อ และอาจหน้ามืด หมดแรง หมดสติได้

 

  • ผู้ที่มีโรคประจำที่เกี่ยวข้องกับหัวใจ ปอด และอื่นๆ รวมไปถึงผู้พิการ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนออกกำลังกาย เพื่อวางแผนการออกกำลังกายให้เหมาะสมกับร่างกายของตัวเองโดยเฉพาะ