เคยสงสัยไหม ออกกำลังกายต่างกัน ความหิวไม่เท่ากัน

เคยสงสัยไหม ออกกำลังกายต่างกัน ความหิวไม่เท่ากัน

 

เคยสงสัยไหมว่า ในวันที่คุณออกกำลังกายในหลายๆ รูปแบบ เช่น วันนี้วิ่งแบบ High Intensity Interval Training (HIIT) บนลู่ไฟฟ้าจนแทบไม่มีแรงเหลือเมื่อลงจากลู่วิ่ง แต่กลับไม่ค่อยรู้สึกหิว ขณะที่ในบางวันหลังเข้าคลาสโยคะชั่วโมงครึ่งกลับรู้สึกหิวจัดจนแทบจะรับประทานได้ทุกอย่างจนลืมไปว่าเป้าหมายในการออกกำลังกายของคุณคืออะไร

     อาการหิวหลังออกกำลังกายไม่ใช่เรื่องแปลก คำกล่าวจาก Lindsea Burns นักโภชนาการและกายภาพบำบัดใน Encio แคลิฟอร์เนีย เธอพูดถึงความหิวหลังออกกำลังกายไว้ว่า นี่เป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นหลังการออกกำลังกาย และแสดงให้เห็นว่าร่างกายทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีการเผาผลาญและใช้อาหารที่เก็บสะสมเป็นพลังงาน

 

     ต่อไปนี้ คือสาเหตุที่อธิบายว่าทำไมการออกกำลังกายแต่ละแบบ จึงมีระดับความหิวที่แตกต่างกัน

 

ออกกำลังกายอย่างหนักจนหมดแรง : ไม่หิว

 

 

     เหตุผลของความหิวเกิดจากการที่ร่างกายต้องการพลังงาน ซึ่งจากการวิจัยพบว่าเมื่อกระเพาะว่างเปล่า ฮอร์โมนที่ชื่อว่า Ghrelin จะส่งสัญญาณไปยังสมองเพื่อให้เกิดความหิว แต่ในข้อนี้ ร่างกายของคุณกลับทำในสิ่งตรงกันข้ามในขณะที่คุณออกกำลังกายอย่างหนักหรือช่วงเวลาหลังจากนั้น โดยนักวิจัยในอังกฤษพบว่าการออกกำลังกายอย่างหนักแบบ HIIT ด้วยการวิ่งบนลู่ไฟฟ้า ระดับของฮอร์โมน Ghrelin จะอยู่ในระดับต่ำกว่าการวิ่งในระดับแอโรบิคซึ่งมีความเข้มข้นน้อยกว่าที่มักตามมาด้วยความหิว

     นี่จึงเป็นเหตุผลที่ว่า ถึงแม้คุณจะออกกำลังกายแบบ HIIT แต่ก็ไม่ได้รู้สึกต้องการเติมพลังทันทีหลังจบการออกกำลังกาย ดังนั้น การออกกำลังกายในระดับที่มีความเข้มข้นมากขึ้น ร่างกายก็จะยิ่งผลิตฮอร์โมน Ghrelin น้อยลง

     นอกจากนี้ ระหว่างออกกำลังกายที่ต้องใช้ความพยายามอย่างหนัก ร่างกายจะสูบฉีดเลือดและพลังงานไปที่ปอดและกล้ามเนื้อ ส่งผลให้ระบบย่อยอาหารหยุดลงชั่วคราว จึงส่งผลให้คุณไม่รู้สึกอยากรับประทานอาหาร

 

• ระดับความหิว

 

ออกกำลังกายความเข้มข้นต่ำเป็นวลานาน : หิว

 

 

     ระยะเวลาที่คุณออกกำลังกายจะส่งผลต่อระดับความหิวของคุณ ดังนั้นหากคุณเล่นโยคะเป็นเวลา 90 นาทีต่อเนื่องโดยไม่ได้พัก นั่นอาจให้คุณอ่อนแรงและรู้สึกหิวได้หลังจบคลาส โดยร่างกายรับรู้ได้ว่าช่วงที่ออกกำลังกายเป็นเวลานานเป็นช่วงที่ขาดอาหารและรู้สึกหิวมากขึ้น

 

เล่นเวท : หิว

 

 

     การยกน้ำหนักทำให้เกิดการฉีกของเนื้อเยื่อที่กล้ามเนื้อ ทำให้เนื้อเยื่อเหล่านั้นต้องการการซ่อมแซมและฟื้นฟูเพื่อสร้างกล้ามเนื้อที่ใหญ่ขึ้น ซึ่งกระบวนการนี้ต้องการการเติมพลังงานและสารอาหารเข้าไป หากยิ่งใช้กล้ามเนื้อมากก็จะยิ่งหิวมาก

 

ออกกำลังกายที่เสียเหงื่อมาก : ไม่หิว

 

 

     อุณหภูมิของร่างกายเป็นอีกบทบาทสำคัญในการหยุดยั้งความหิวหลังการออกกำลังกายอย่างหนัก เมื่ออุณหภูมิของร่างกายสูงมากขณะออกกำลังกายหนัก เลือดจะไหลเวียนไปยังกล้ามเนื้อและผิวหนัง ระบบย่อยอาหารจะหยุดลงชั่วคราว 

 

ว่ายน้ำ : หิว

 

 

     เกือบทุกคนหลังว่ายน้ำจะรู้สึกหิวจัด นั่นเป็นเพราะการว่ายน้ำเป็นการออกกำลังกายภายใต้อุณหภูมิที่ต่ำกว่ากิจกรรมอื่น ส่งผลให้ร่างกายต้องทำทุกวิธีทางเพื่อรักษาอุณหภูมิภายในให้อบอุ่น เพื่อรักษาระดับอุณหภูมิแกน (core temperature – ระดับอุณหภูมิในส่วนแกนกลาง) ในขณะที่กิจกรรมเผาผลาญไขมันอื่นๆ เป็นการเร่งอุณหภูมิแกนให้สูงขึ้น

 

     แม้ว่าคุณจะว่ายน้ำอย่างหนัก ฟรีสไตล์ไป-กลับ 20 รอบ (ตามทฤษฎี การออกกำลังกายอย่างหนักจนถึงชั่วเวลาหนึ่ง ร่างกายจะปล่อยฮอร์โมนยับยั้งความหิวออกมา) แต่การว่ายน้ำไม่มีผลกับฮอร์โมนตัวนี้ เพราะเมื่อคุณขึ้นจากน้ำ ร่างกายของคุณยังคงเย็น อุณหภูมิในร่างกายลดต่ำ ส่งผลให้ร่างกายร้องเรียกเอาอาหารเข้าร่างกายปริมาณมากเพื่อเข้าสู่กระบวนการย่อยอาหาร ซึ่งเจ้ากระบวนการที่ว่านี้ใช้พลังงานมหาศาลและช่วยให้ตัวอุ่นได้เร็วขึ้น

 

     ดังนั้น  WE FITNESS SOCIETY  เเนะนำว่า ถ้าคุณไม่อยากรู้สึกผิดด้วยการจัดอาหารมื้อหนักหลังว่ายน้ำ ให้ลองเดินเร็วหรือทำกิจกรรมเคลื่อนไหวกายเบาๆ สัก 10-15 นาที เพื่อให้ตัวอุ่นขึ้น หรือดื่มน้ำเปล่าตามเยอะๆ ไม่ก็พกอาหารว่างที่มีแคลอรี่ต่ำติดไว้ข้างสระ เช่น กล้วย แอปเปิ้ล อัลมอนด์ ฯลฯ เพื่อบรรเทาความหิวก่อนเจอมื้อหลัก

REF http://bit.ly/2PLFAh0